วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม



คำแนะนำการใฃ้หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม


โดย :: จริยา ทองหอม (12/09/2559)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



แนวคิด
หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม ในมิติของทักษะการคิด การปฏิบัติ การนำเสนอ การประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความสะดวกของผู้เรียน


คำแนะนำการใช้หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

1.  ให้ผู้เรียนทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน โดยคลิกดาวน์โหลดเอกสารได้ที่  https://www.facebook.com/groups/286888074995812/
2.  ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 3-4 คน ตามความสมัครใจ
3.  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-3 ตามลำดับขั้นตอนโดยคลิกเข้าไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ที่ http://tonghom.blogspot.com/p/1_2.html
4.  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ในทุก ๆ ช่องทาง
5.  ถ้ามีปัญหาในการเรียน หรือการทำกิจกรรม ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นด้วยภาษาที่สุภาพไว้ในโพสต์นี้ หรือผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนได้ที่
โทร. 080-532-2618 และ 094-836-9957
E-mail: Tonghom2009@hotmail.com
6.  ให้ผู้เรียนทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน โดยคลิกดาวน์โหลดเอกสารได้ที่  https://www.facebook.com/groups/286888074995812


..........................................


1 ความคิดเห็น:

  1. 1. เมื่อผู้เรียนแบ่งกลุ่มแล้ว ให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ดังนี้
    กิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จินตวิศวทัศน์ (Imagineering Visual)
    เรื่อง อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    กิจกรรมที่ 1 จินตวิศวทัศน์ (Imagineering Visual)
    คำชี้แจง ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามที่กำหนดให้ และส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
    กิจกรรมที่ 1.1 การกำหนดโจทย์จินตนาการของผลงาน (Problem)
    1. ผู้เรียนสืบค้น สังเคราะห์ปัญหาอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านเครือข่าย
    คอมพิวเตอร์ที่พบในชีวิตประจำวันจากข้อมูลที่สืบค้นตามความคิดหรือจินตนาการ
    2. ผู้เรียนกำหนดโจทย์จินตนาการของผลงานเกี่ยวกับปัญหาอินเทอร์เน็ต และ
    การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบในชีวิตประจำวันตามความคิด หรือจินตนาการ
    กิจกรรมที่ 1.2 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของจินตนาการ (Feasibility)
    1. ผู้เรียนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบในชีวิตประจำวันตามความคิดหรือจินตนาการ
    2. ผู้เรียนคัดเลือกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบในชีวิตประจำวันตามความคิดหรือจินตนาการที่สนใจมากที่สุด 1 ปัญหา

    ตอบลบ